top of page

เลือกงานที่ใช่ ? (เงิน VS ชีวิต)


อาจารย์ที่ Imperial เคยแนะนำแอดให้อ่านหนังสือเล่มนึง

ผ่านไป 6 ปี แอดพึ่งได้มีโอกาสอ่าน หนังสือชื่อ

"How will you measure your life" คนเขียน คือ Clayton Christensen

(คนที่คิดเรื่อง Disruption Model: ตอนนี้เสียชีวิตไปแล้ว)


Christensen เคยเป็นอาจารย์สอน MBA ที่ Havard เขาตั้งคำถามว่า

เด็กที่จบจากที่นี่ 5 ปีแรก ทุกคนชีวิต Happy หมด,

ผ่านไป 10-20 ปี ลูกศิษย์เขาที่เคย Happy กลับเริ่มมีความทุกข์ และมีปัญหาชีวิต

เขาเลยตั้งคำถามว่าทำไม และ อะไรที่ทำให้เป็นแบบนั้น


ผู้เขียนมองโฟกัสไปที่การเลือกงาน เพราะคนเราเราใช้เวลา 1/3 อยู่กับงานที่เราเลือก

เขาให้ข้อสังเกตุว่าเวลาคนเลือกงาน ส่วนใหญ่เด็กจบใหม่จาก Top U

จะเลือกจาก Hygiene Factors (ปัจจัยภายนอก เช่น เงินเดือน) มากกว่าสิ่งที่ตัวเองอยากทำจริงๆ

เมื่อปัจจัยภายนอกมันสิ่งที่ไม่จีรัง เลยทำให้คนติดกับดักเหมือนเป็นหนูปั่นจั่น

ยิ่งถ้าเราอยู่ในโลก Capitalism (แต่ถ้าเลือกจาก Value ถ้ามันไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง

ก็มีสิทธิ์เลือกผิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเขาเลยให้เราคิดว่า ปัจจัยอะไรที่จะทำให้สิ่งที่เราคิดนั้นเป็นจริง)


มีงานวิจัยนึงบอกว่า ถ้าคนทำงานเงินเยอะๆ จะจบด้วยการใช้ Consumption ที่เกินความพอดี

(โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่จำเป็น ฝรั่งที่ต่อต้าน Capitalism เรียกว่า Bullshit Consumption)

และถ้าเราติดกับสิ่งที่ไม่จำเป็น ก็จะทำให้ติดกับ Hygiene Factors มากขึ้น

ทำให้เราไม่เห็น Value สิ่งที่มันสำคัญกับเรา อยากทำจริงๆ


ถ้าคนใช้ชีวิตแบบง่ายๆ ชีวิตก็คงโอเค แต่ทีนี้เราต้องแยกให้ออกว่าการใช้ชีวิตเรียบง่าย

กับ อดอยาก หรือ ไม่พอ มันไม่เหมือนกัน (สุดท้ายงานก็ควรจะเลี้ยงตัวเองได้)


ลองมองในเชิงโครงสร้าง ประเทศที่พัฒนาแล้ว กับ ประเทศที่กำลังพัฒนา (หรือไม่พัฒนา)

ถ้าจะโปรโมตให้คนใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ส่วนตัวคิดว่าถ้าจะโปรโมตความ "เรียบง่าย"

ในประเทศที่พร้อมหรือพัฒนาแล้วที่มีสวัสดิการรองรับน่าจะดู Make sense กว่า


ในประเทศที่ยังไม่พร้อม จากระบบที่มันไม่แน่นอน และโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้อ

ทำให้คนต้องเก็บเงินเพื่อตอบสนองสิ่งที่โครงสร้างขาด และไม่รู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น (เช่น ป่วย หรือ อื่นๆ)


ปล. ช่วงหลังโควิดน่าจะเป็นช่วงที่คนย้ายงานกันบ่อยมาก เลยอยากลองให้มุมมองนี้ขึ้นมา

Comments


bottom of page