top of page

ระบบธุรกิจขององค์กรการกุศลในประเทศอังกฤษ (เงินต่อเงิน)

Updated: May 3, 2021


Charity Shop ในประเทศอังกฤษเยอะมาก ถ้าหากใครอยู่อังกฤษนานๆ จะเห็นได้ว่าทุกๆเมืองของอังกฤษจะมีร้านองค์กรการกุศลตั้งอยู่เป็นดอกเห็ด ไม่ว่าจะเป็นโซนที่ค่าเช่าที่แพงมากอย่าง 'Knightsbridge' หรือแม้แต่เมืองบ้านนอก

ความน่าสนใจคือ องค์กรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ด้วยการเซตระบบขึ้นมา และขยายสาขาออกไปได้อย่างไม่รู้จบ

ซึ่งระบบนี้Runได้โดย 1. เช่าที่ (การลงทุนครั้งแรก) 2. ตั้งรับบริจาค 3. เอาของที่คนบริจาคมาขาย 4. หาVolunteerมาขาย 5. รอคนมาซื้อ 6. ตัดกำไรมาลงทุนเปิดที่อื่น (เอาเงินกำไรสาขาอื่นมาเปิดสาขาใหม่) 7. ตัดเงินไปบริจาคตามวัตถุประสงค์ และที่สำคัญที่สุดคือ "ความโปร่งใส"

แต่ความท้าทายคือ จำนวนเงินที่ได้จากการบริจาคแต่ละเดือนจะต้องCoverถึงค่าเช่า, ต้องมีอาสาสมัครและต้องมีของเข้ามาตลอด ระบบถึงจะRunได้

การที่ตัดกำไรไปลงทุนต่อ จะทำให้เกิดImpactมากกว่าในระยะยาวมากกว่าเอาเงินที่ได้รับทั้งหมดไปบริจาค ลองคิดดูว่าถ้ามีองค์กรการกุศลอยู่1ร้าน กับ1,000ร้านและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แบบไหนจะสามารถเก็บได้มากกว่ากันในอนาคต

จริงๆแล้วองค์กรการกุศลในไทยก็มีเยอะ แต่เวลาเราทำบุญเราจะมีความรู้สึกว่าคนที่มาเรี่ยไรเงินตามห้างไม่โปร่งใส (จริงๆดีๆก็อาจจะมี แต่เราอาจจะไม่เชื่อมั่น) ซึ่งเวลาเราจะทำบุญเราจะตรงไปที่นั่นเลย แต่ส่วนใหญ่จะมีสาขาไม่เยอะ

ซึ่งพอสาขาที่รับบริจาคน้อยก็จะมี Barriers ของคนมาที่บริจาค (เช่น ด้าน'สถานที่' และ 'เวลา') และนอกจากนี้แล้วถ้าสาขาเยอะ ก็จะได้ Brand Awarenessมากขึ้นด้วย ..

จริงๆก็แอบเชียร์ให้หลายๆองค์กรการกุศลในไทยที่ดีๆ... ขยายเหมือนกันนะ อย่าพึ่งเอาเงินไปลงบริจาคหมด เอาเงินมาต่อเงินก่อน ... (ซึ่งก็อาจจะต้องWeightถึงความจำเป็นในขณะนั้นด้วย)

ปล. แค่อยากให้ของที่บางคนอาจจะไม่ได้ใช้แล้ว ถูกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุดกับคนที่ต้องการ จะได้ไม่มี 'Deadweight Loss'


bottom of page