top of page

กลยุทธ์การตั้งราคา (Case บัตรแดงเดือดที่ไทย)


เห็นช่วงนี้มีดราม่าเรื่องตั๋วราคาบัตรแดงเดือดที่เมืองไทยว่าอาจจะขายไม่หมด

ตอนนี้ดูเหมือนว่ายังเหลือบัตรที่ขายราคาหลักหมื่นขึ้นไป (ที่ยังมีขายในช่องทางอื่น)


ปัญหานี้น่าจะเกิดจากการตั้งราคาที่สูงไป ไม่สอดคล้องกับกำลังซื้อ

และ เศรษฐกิจ กับราคาอ้างอิงจาก Match เพื่อนบ้าน (Price Anchoring)


จริงๆ ถ้าอิงตามทฤษฎี Pricing วิธีที่ทำกำไรให้มากที่สุดในสินค้าที่มีปริมาณที่จำกัด

คือทำ Individual Price Discrimination ในแต่ละสินค้า ในแต่ละบุคคล

(เช่น ตั้งราคาขายราคาสูงสุดเท่าที่คนจะยอมจ่ายแต่ละบุคคล

แต่มันจะทำได้ถ้าลูกค้ามี Willingness to Pay เพียงพอ,

Attitude สามารถเปลี่ยนเป็น Action และตลาดมี Demand มากพอ)


จริงๆ ที่ไทยน่าจะมีคนอยากดูแมนยู แข่งกับลิเวอร์พูลเยอะ

แต่ราคาตั๋วที่ตั้งไว้อาจจะเกิน Based Line ของคนที่ยอมจ่าย

ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์ ถ้าไม่ Shift Demand ให้มากขึ้น

(คอนเสิรต์กับคนดูบอลน่าจะคนละกลุ่มกัน พอคนอยากดูแค่คอนเสิรต์ เลยคิดว่าทำไมต้องจ่าย Premium)

ซึ่งเลยต้องทำให้ราคาไหลไป Match กับลูกค้าให้ได้ โดยไปขายตลาดอื่น .. แต่มันจะมีปัญหากับคนที่ซื้อไปก่อนแล้ว


ส่วนเรื่อง Emotion คือ ที่อังกฤษมีคนยอมจ่าย 400-500 ปอนด์จริง

แต่ Feeling ที่ได้มันคือดูในสนามและบรรยากาศเขา

เห็นนักการตลาดเขาพยายาม Lift ความรู้สึกตรงนั้นอยู่


จริงๆที่อาจจะทำได้ตั้งแต่ต้นเพื่อป้องกันไม่ให้การตั้ง Pricing ผิดพลาด

คือ ทำ Survey และตอนตั้งราคาทำให้ตั้งราคาให้มีหลาย Level มากที่สุด

(แต่อาจจะทำยากถ้าตัวเลขเป็นหลักหมื่น), เพิ่ม Value ให้สินค้า (เสียดายหงส์ไม่ได้แชมป์),

จับกลุ่มลูกค้าตลาดใหม่ ....


ปล. คิดว่าอันนี้น่าจะทำเป็น Case Study ในห้องเรียนได้


Comments


bottom of page