เมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา แอดได้มีโอกาสไปรับประทานอาหาร
ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นร้านหนึ่ง ซึ่งในหน้าเมนูนั้นได้มีการจัดโปรโมชั่น
สำหรับเบียร์ ASAHI ที่น่าสนใจมาก
โปรโมชั่นดังกล่าวคือ ลูกค้าสามารถเสี่ยงดวงเพื่อร่วมสนุกได้
โดยการทอยลูกเต๋า 2 ลูก หากแต้มเต๋ารวมกันได้ 7 พอดี
จะได้รับเบียร์ ASAHI แก้วใหญ่ฟรีทันที!!!
แต่หากแต้มเต๋ารวมกันได้ 9 จะได้รับเป็นส่วนลดค่าเบียร์ 50% แทน
และถ้าหากแต้มเต๋ารวมกันไม่ใช่ทั้ง 7 และ 9 ลูกค้าจะต้องจ่ายค่าเบียร์ แพงกว่าปกติเพียงแก้วละ 1 บาท เท่านั้น
ฟังดูเป็นโปรโมชั่นที่ดูน่าสนุกมาก แถมมีโอกาสได้ดื่มเบียร์ฟรีๆอีก
เพื่อนแอดจึงร่วมเล่นสนุกกัน ปรากฏว่าดวงดีกันมาก ได้ทานเบียร์ฟรีกันครึ่งกลุ่ม
จากการวิเคราะห์ตามหลักสถิติแล้ว เมื่อทอยลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน
ความน่าจะเป็นที่จะทอยได้ 7 นั้นสุงมากที่สุด
จึงอาจเป็นสาเหตุให้พวกเราได้ทานเบียร์ฟรีกันครึ่งกลุ่ม
แต่หากวิเคราะห์ตามหลักการตลาดแล้ว ทำให้เราเห็นได้ว่าเกมส
หรือ การเดิมพันนี้อาจจะคุ้มมากสำหรับร้านอาหารร้านนั้นก็ได้
นั่นเป็นเพราะว่า เกมส์นี้ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า "คุ้มค่าที่จะเสี่ยง"
โดยมีโอกาสได้เบียร์ฟรี หรือจ่ายได้ถูกลงครึ่งหนึ่ง
ในขณะที่ถ้าแพ้ก็จ่ายเพิ่มแค่ 1 บาทเท่านั้น
แต่สิ่งที่เราลืมคิดไปคือ บางทีเราอาจไม่ไ่ด้อยากทานเบียร์มากขนาดนั้นก็ได้
ยกตัวอย่างเช่น ตัวแอดเองก็ไม่ได้ชอบดื่มเบียร์ แต่ด้วยความคุ้ม
ด้วยความที่เรารู้หลักสถิติ และด้วยความที่เกมส์มันดูน่าสนุก น่าตื่นเต้น
โดยเฉพาะเวลาไปทานกับเพื่อนเยอะๆ ก็เลยทำให้เราตัดสินใจร่วมเล่นเกมส์นั้นไปโดยไม่รู้ตัว
การตลาดแนวนี้ยังมีให้เห็นอีกมาก ในรูปแบบของ gamification ที่ใช้ความตื่นเต้น ความสนุกจากการเล่นเกมส์ เพื่อดึงดูดให้คนทดลองใช้ ทดลองซื้อ หรือ เข้าร่วมกิจกรรมที่แบรนด์จัดขึ้นนั่นเองครับ
Written by Tanan Udomcharn
コメント