Tanan UdomcharnDec 17, 20191 min readกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ประโยชน์จาก "ความเสียดาย"เคยไหมครับ?- ขับรถมาตั้งไกล เพื่อมาพบว่าร้านอาหาร ที่ตั้งใจมาทานดันไม่มีขายเมนูที่อยากกินวันนี้ซะงั้น- หรือ เลือกซื้อของอยู่นานมาก ตอนจะจ่ายตังค์ ดันใช้โปรโมชั่นที่อยากใช้ไม่ได้ซะนี่แล้วสุดท้ายก็ต้องยอมกิน ยอมซื้อไป โดยบอกกับตัวเอง ว่า "ช่างมันยอมจ่ายๆไป ไหนๆก็ขับรถ/เลือกซื้อของ มาถึงขนาดนี้แล้ว"สาเหตุที่เราพูดกับตัวเองแบบนั้น เป็นเพราะปรากฎการณ์ที่เรียกว่า "Sunk Cost Effect" นั่นเองครับSunk Cost Effect เป็นปรากฎการณ์ที่มาจากการที่คนเรา มีความ "กลัวการสูญเสีย" ซึ่งรวมไปถึงกลัวการสูญเสีย สิ่งที่เราลงทุนไปแล้วด้วย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เรายอมทำอะไรหลายๆ อย่าง ที่ไม่ได้อยากทำ เพียงเพราะเรามองกลับไปในอดีต แล้วเรา "เสียดาย" ความพยายาม ความอุตสาหะ การลงทุน ลงแรง เงิน เวลา ที่เราเสียไปแล้ว ว่ามันจะไม่ก่อให้เกิดผลดีใดๆขึ้นสุดท้ายแล้วเราจึงเลือกที่จะลงทุนต่อมากขึ้น ทั้งๆที่รู้ว่ามันอาจจะไม่คุ้มนั่นเองครับ (เช่น ทนกินเมนูที่ไม่ได้อยากกิน เพราะอุตส่าห์ขับมาถึงแล้ว ไม่อยากขับมาเสียเปล่า)กลยุทธ์การตลาดสายมืดจำนวนไม่น้อยก็ใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ โดยการซ่อนเงื่อนไขต่างๆนานาไว้ใต้ดอกจันท์ * ตัวเล็กๆบ้าง เพื่อหลอกล่อให้เราก้าวเข้าไปเลือกซื้อสินค้า ลงทุนเวลาของเรากับการเลือกสินค้าไปก่อน สุดท้ายพอมารู้ว่า "อ้าว ส่วนลดใช้ได้น้อยกว่าที่คิดไว้" เราก็ยอมๆจ่ายๆไปอยู่ดี เพราะไม่อยากรู้สึกว่าเสียเวลาที่ผ่านมาโดยเปล่าประโยชน์ไปนั่นเองครับ Written by: Tanan Udomcharn
เคยไหมครับ?- ขับรถมาตั้งไกล เพื่อมาพบว่าร้านอาหาร ที่ตั้งใจมาทานดันไม่มีขายเมนูที่อยากกินวันนี้ซะงั้น- หรือ เลือกซื้อของอยู่นานมาก ตอนจะจ่ายตังค์ ดันใช้โปรโมชั่นที่อยากใช้ไม่ได้ซะนี่แล้วสุดท้ายก็ต้องยอมกิน ยอมซื้อไป โดยบอกกับตัวเอง ว่า "ช่างมันยอมจ่ายๆไป ไหนๆก็ขับรถ/เลือกซื้อของ มาถึงขนาดนี้แล้ว"สาเหตุที่เราพูดกับตัวเองแบบนั้น เป็นเพราะปรากฎการณ์ที่เรียกว่า "Sunk Cost Effect" นั่นเองครับSunk Cost Effect เป็นปรากฎการณ์ที่มาจากการที่คนเรา มีความ "กลัวการสูญเสีย" ซึ่งรวมไปถึงกลัวการสูญเสีย สิ่งที่เราลงทุนไปแล้วด้วย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เรายอมทำอะไรหลายๆ อย่าง ที่ไม่ได้อยากทำ เพียงเพราะเรามองกลับไปในอดีต แล้วเรา "เสียดาย" ความพยายาม ความอุตสาหะ การลงทุน ลงแรง เงิน เวลา ที่เราเสียไปแล้ว ว่ามันจะไม่ก่อให้เกิดผลดีใดๆขึ้นสุดท้ายแล้วเราจึงเลือกที่จะลงทุนต่อมากขึ้น ทั้งๆที่รู้ว่ามันอาจจะไม่คุ้มนั่นเองครับ (เช่น ทนกินเมนูที่ไม่ได้อยากกิน เพราะอุตส่าห์ขับมาถึงแล้ว ไม่อยากขับมาเสียเปล่า)กลยุทธ์การตลาดสายมืดจำนวนไม่น้อยก็ใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ โดยการซ่อนเงื่อนไขต่างๆนานาไว้ใต้ดอกจันท์ * ตัวเล็กๆบ้าง เพื่อหลอกล่อให้เราก้าวเข้าไปเลือกซื้อสินค้า ลงทุนเวลาของเรากับการเลือกสินค้าไปก่อน สุดท้ายพอมารู้ว่า "อ้าว ส่วนลดใช้ได้น้อยกว่าที่คิดไว้" เราก็ยอมๆจ่ายๆไปอยู่ดี เพราะไม่อยากรู้สึกว่าเสียเวลาที่ผ่านมาโดยเปล่าประโยชน์ไปนั่นเองครับ Written by: Tanan Udomcharn
コメント