top of page

ทำไมเรื่องเรียนไม่เห็นจำได้แบบนี้บ้าง


ทำไมเราไม่เห็นจำหนังสือเรียนได้เหมือนที่จำการ์ตูนตอนเด็กๆได้นะ?

 

วันก่อนแอดมินได้เห็นการ์ตูนสมัยเด็กๆเมื่อ 20 ปีก่อนฉากหนึ่ง ปรากฎว่าแอดสามารถจดจำได้แทบทุกรายละเอียดของ episode นั้น ราวกับเพิ่งหยิบการ์ตูนตอนนั้นมาอ่านเมื่อไม่นานมานี้ จนอดบ่นกับตัวเองไม่ได้ว่า "ทำไมเราไม่เห็นจำหนังสือเรียนได้ดีขนาดนี้บ้างนะ?"


คิดไปคิดมา ความจริงเรื่องนี้มีคำอธิบายที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แถมยังเกี่ยวข้องกับการตลาดเต็มๆด้วยครับ

 

ทำไมเราถึงจำเนื้อเรื่อง (Story) ได้ดี?


- Story ทำหน้าที่เสมือนเครื่องมือเตือนความจำ

Story ให้ความหมายแก่สิ่งต่างๆที่อาจไม่มีความหมาย หรือจับต้องไม่ได้ด้วยซ้ำไป ทำให้สมองของเราเข้าใจเรื่องราวนั้นๆได้ง่ายขึ้น และจดจำเรื่องราวนั้นๆได้ดีขึ้น

(ยกตัวอย่างเช่น การท่อง ก.-ฮ. ที่ไม่มีความหมาย จะยากกว่าการท่อง ก.ไก่ ข.ไข่ และยิ่งใส่เนื้อเรื่องเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้จำได้ง่ายขึ้น เช่น ก.เอ๋ย ก.ไก่ ข.ไข่ในเล้า ... ฮ.นกฮูกตาโต)


- Story สร้างความผูกพันทางอารมณ์ได้มากกว่า Fact

มีหลายงานวิจัยระบุว่าคนเรามักจะเปิดรับและตอบสนองต่อเรื่องราว ที่สามารถสร้างความผูกพันทางอารมณ์ได้ดีกว่า เนื่องจากเรามักจะรู้สึกว่าเรื่องราวเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับตัวเรามาก (หรือที่เราเรียกว่า "อิน" นั่นเอง)

 

เพราะฉะนั้นแล้วนักการตลาดที่พยายามนำเอาแบรนด์ของตนเอง ไปไว้ในใจและในสมองของลูกค้า (อยากให้จำได้) จึงพยายามสร้างโฆษณา ที่มีเรื่องราวน่าจดจำออกมา มากกว่าจะแค่โชว์สินค้า บอกว่าใช้ทำอะไร ราคาเท่าไหร่ หาซื้อได้ที่ไหน


มานึกๆดู ที่เราจำบทเรียนไม่ได้ อาจจะเพราะตอนเราเรียนเราจำทุกอย่าง เป็นภาพ abstract ที่ไม่มีตัวตน ไม่มีความหมาย หากตอนนั้นเราถูกสอน แบบ story telling เราอาจจะจำบทเรียนได้ดีกว่านี้เยอะเลยก็ได้ (มีหนังสือเรียนไม่น้อยที่นำมาเขียนเป็นการ์ตูนแล้วคนก็จำได้ดี)


ปล. นอกจากข้อดีในเรื่องการเป็นที่จดจำแล้ว Story Telling (การเล่าเรื่อง) ยังมีข้อดีในแง่ของการสร้างการรับรู้ที่ดีต่อแบรนด์ได้อีกด้วย (Brand Perception) ซึ่งอันนี้จะไว้เล่าในโพสต์ต่อๆไปนะครับ

 

Written by: Tanan Udomcharn

bottom of page