
เป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจธนาคาร
ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงบนโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเห็นได้จากการลดจำนวนสาขา การลดจำนวนพนักงานลง
อันเนื่องมาจากลูกค้าทำธุรกรรมออนไลน์กันมากขึ้น
SCB เองก็ได้พยายามคลอดธุรกิจใหม่ๆออกมาเสมอ เช่น SCB 10X หรือบริษัทลูกต่างๆอีกมากมาย
อย่างไรก็ดีบริษัทลูกของ SCB ก็มักจะอยู่ในอุตสาหกรรมการเงินเสมอ
ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะเป็นการขยายธุรกิจโดยใช้ Asset ที่บริษัทแม่มีอยู่แล้ว
นั่นก็คือ "ความรู้" "ความชำนาญ" ในอุตสาหกรรมนี้นั่นเอง
การที่ SCB ตัดสินใจขยายธุรกิจมาเล่นในแวดวง food delivery
นับว่าน่าชื่นชมในแง่ของการคว้าโอกาสในช่วงวิกฤตโควิด
ที่คนหันมาใช้ food delivery เป็นทวีคูณ และในแง่ของความกล้า
ที่จะก้าวออกจาก comfort zone ในอุตสาหกรรมการเงิน
นอกจากนี้ยังเป็นการ diversify risk เพื่อลดความเสี่ยง ในตลาดธนาคารที่กำลังอยู่ในช่วงขาลงอีกด้วย
อย่างไรก็ดีการตัดสินใจนี้ก็ยังคงมีความเสี่ยงเช่นกัน
เนื่องจาก SCB อาจไม่มีความชำนาญสู้คู่แข่งสำคัญ
อย่าง Grab, Lineman, Food Panda ได้
การใช้ move ไม่เก็บค่าธรรมเนียมในช่วงแรกๆจึงเป็น move ที่น่าสนใจ ในการชดเชยจุดอ่อนนี้โดยการสร้าง physical availability (นำเอาร้านขายอาหารมาขึ้นให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มี choice ที่หลากหลาย รองรับความต้องการของผู้ซื้อ)
ในขณะเดียวกันการไม่เก็บค่าธรรมเนียมก็อาจช่วยให้ผู้ซื้อแบกรับภาระราคา
ที่ผู้ขายมักส่งต่อมาให้ผู้ซื้อน้อยลงเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ซื้อรับรู้
ว่าราคาบน Robinhood ถูกกว่าที่อื่น และอยากจะซื้อบน Robinhood มากกว่า
ในระยะยาว เมื่อ traffic บน platform Robinhood มีจำนวนมาก SCB อาจเล่นโปรโมชั่นกับการชำระเงินผ่านบัตร หรือ ธนาคารของตัวเองเป็นหลัก เพื่อกระตุ้นให้บริษัทแม่มี performance ที่ดีมากขึ้นได้อีกด้วยครับ
Written by Tanan Udomcharn
Comments