top of page

ทำไมการรู้เงินเดือนของคนอื่น จึงอาจทำให้เราไม่มีความสุข?

Updated: May 14, 2021


หัวข้อในวันนี้อาจจะฟังดูไม่เกี่ยวกับการตลาด แต่ความจริงหลักจิตวิทยา ที่อยู่เบื้องหลังหัวข้อนี้นั้นถูกใช้ในทางตลาดอยู่บ่อยครั้งเลยครับ พร้อมแล้วเรามาฟัง(อ่าน)กันดีกว่าครับ!!


จากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ชื่อ Prospect Theory มีการกล่าวไว้ว่า "คนเราจะรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจขึ้นอยู่ กับจุดอ้างอิง (reference point) ของแต่ละบุคคล"

 

ถ้าฟังแล้วยังไม่เก็ท ลองจินตนาการตามนี้ครับ


- นาย A ได้เงินเดือน 50,000 บาท คำถามคือ ถ้าคุณเป็นนาย A คุณจะดีใจหรือไม่?


- ทีนี้ถ้านาย A ทราบว่าเพื่อนๆแถวบ้านที่อายุเท่าๆกัน ได้เงินเดือนประมาณ 15,000 บาทกัน คำถามคือ นาย A จะดีใจมากกว่าหรือน้อยกว่าก่อนหน้านี้


- ในทางตรงกันข้าม ถ้านาย A มาทราบว่าเพื่อนๆแถวบ้าน ที่อายุเท่าๆกัน ได้เงินเดือนกันประมาณ 100,000 บาท คุณคิดว่านาย A จะดีใจมากน้อยแค่ไหนครับ

 

จากเหตุการณ์สมมตินี้จะเห็นได้ว่าความสุข/ทุกข์ของคนเรา มักจะมาในรูปแบบของการเปรียบเทียบ (relative)


ในบางครั้งการที่เราไม่รู้เงินเดือนคนอื่นจึงอาจช่วยให้เราไม่ต้องเป็นทุกข์ และพอใจกับสิ่งที่เรามีอยู่ก็ได้ครับ


แล้วหัวข้อนี้เกี่ยวกับการตลาดยังไงล่ะ?


เคยได้ยินคำว่า "ผมคิดราคาพิเศษให้คุณจากชิ้นละ 300 บาท เหลือ 250 บาท แต่อันนี้ราคาพิเศษให้คุณคนเดียวเพราะคุณเป็นลูกค้าประจำ อย่าไปบอกใครล่ะ" ไหมครับ? (แอดมินเพิ่งโดนมาครับ)


ประโยคนี้ทำให้คุณใช้ต้นทุนของคนอื่นที่ 300 บาทเป็นจุดอ้างอิง ในขณะที่คุณสามารถซื้อสินค้าชิ้นเดียวกันได้ในราคาแค่ 250 บาท (คุณจึงรู้สึกว่าคนอื่นจ่ายแพงกว่าคุณ) นั่นจึงทำให้คุณพอใจกับดีลนี้ และมีโอกาสที่จะซื้อสินค้ามากขึ้นครับ


ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณมารู้ทีหลังว่าพ่อค้าพูดแบบนี้กับลูกค้าทุกคน แล ะคุณก็จ่าย 250 เท่ากับคนอื่นๆ ความสุข/ความพอใจของคุณก็จะลดลง และอาจจะทำให้คุณรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่คุณซื้อมาแล้วก็ได้ครับ (เหมือนที่แอดมินรู้สึกตอนนี้ครับ ซื้อมาตั้ง 5 ชิ้น TvT)

 

Written by: Tanan Udomcharn

bottom of page