ในสมัยก่อน สื่อต่างๆที่ใช้ในการโฆษณามีปริมาณค่อนข้างจำกัด
เมื่อพูดถึงโฆษณา ทุกคนต่างก็นึกถึงโฆษณาทางทีวีเป็นอันดับต้นๆ
รองมาก็คือโฆษณาทางวิทยุ และตามสื่อออฟไลน์
หรือที่เรียกว่า OOH (Out Of Home) ต่างๆ เช่น ป้ายบิลบอร์ดบนทางด่วน
ป้ายโฆษณาตามป้ายรถเมล์ หรือบนตัวรถเมล์ เป็นต้น
ในยุคปัจจุบันคนเราใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์แทบจะตลอดเวลา
เช่น เดินทางไปทำงานก็เล่นเฟสบุ๊ค กลับถึงบ้านก็ดู youtube
เวลาดึกๆก็ช้อปปิ้งออนไลน์ เวลาว่างๆก็เปิด netflix ดูหนัง สื่อโฆษณาต่างๆ
ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโฆษณา
ทาง Google, Youtube, เฟสบุ๊ค, และอื่นๆอีกมากมาย
การที่สื่อโฆษณาเพิ่มขึ้นมากมายขนาดนี้ เป็นประโยชน์ในการช่วยให้การโฆษณา
ทำได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น ด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้น
target ผู้ชมโฆษณาได้แม่นยำขึ้น ในราคาที่ถูกลงมากกว่าเมื่อก่อนเยอะ....
จริงหรือไม่?
ถึงแม้จำนวนสื่อที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ราคาค่าโฆษณาถูกลงเยอะมากจริงๆ และถึงแม้ว่าสื่อเหล่านี้จะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ค่อนข้างแม่นยำจริงๆ แต่นักการตลาดจำนวนไม่น้อย ก็ต้องปวดหัวกับ "จำนวนสื่อที่มากเกินไป"
Q: แล้ว "สื่อมากเกินไป" มันมีข้อเสียอย่างไรล่ะ?
A: การที่สื่อมากเกินไปทำให้ผู้บริโภค "เสพสื่อไม่ทัน" ครับ
อ้างอิงจากหลักจิตวิทยาที่ชื่อ "Selective Attention" ซึ่งกล่าวไว้ว่า
"มนุษย์ไม่สามารถให้ความสนใจกับหลายๆสิ่งพร้อมกันได้
แต่จะเลือกให้ความสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งทีละสิ่ง"
การที่คนเราเสพสื่ออย่างมากมายในแต่ละวัน
จึงไม่ได้หมายความว่าเราเปิดรับเอาข้อมูลเหล่านั้นเข้ามาในสมองทั้งหมด
ยกตัวอย่างเช่น ในวันๆนึง ขณะคุณกำลังไถหน้าจอเล่นเฟสบุ๊ค เล่นอินสตาแกรม
คุณได้ดูโพสต์ทุกโพสต์หรือไม่? คุณได้ดูว่าใครเป็นคนโพสต์หรือไม่?
หรือคุณดูและให้ความสนใจกับโพสต์ที่ดูเด่น ดูสะดุดตาคุ
หรือ ดูเกี่ยวข้องกับความต้องการของคุณในขณะนั้นมากกว่า?
แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถให้ความสนใจกับทุกๆโพสต์ได้
นี่ยังไม่รวมถึงสตอรี่บนเฟสบุ๊คและอินสตาแกรม, คลิปต่างๆบน youtube,
เนื้อหาต่างๆบน twitter และอื่นๆอีกมากมาย
สุดท้ายการมีสื่อเยอะขึ้นจึงอาจไม่ได้ช่วยให้นักการตลาดทำงานได้ง่ายขึ้นเสมอไป อย่างไรก็ตามความพยายามในการฝกฝน ศึกษาข้อมูลต่างๆ และลองผิดลองถูก จะช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้สื่อโฆษณาที่ถูกประเภท และ สร้างคอนเทนต์ที่โดดเด่น พอที่จะดึงดูดความสนใจของกลุ่มผู้ชมเป้าหมายได้อย่างแน่นอนครับ
Written by Tanan Udomcharn
Comentários