ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า Social Media Influencer ซึ่งต่อจากนี้จะขอเรียกสั้นๆว่า influencer มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ โดยในแต่ละวันคนธรรมดาๆคนหนึ่ง อาจกลายเป็น influencer บนโลกออนไลน์ขึ้นมาได้ไม่รู้ตัว หลายคนต่างมองว่าอาชีพ influencer เหล่านี้เป็นอาชีพที่น่าอิจฉา เนื่องจากมีชื่อเสียง ได้ทำสิ่งที่ตนรัก และสำคัญที่สุดคือทำเงินได้มหาศาล จากการรีวิว โฆษณา เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์ต่างๆอีกมากมาย แต่รู้หรือไม่ว่าอาชีพ influencer นี้นอกจากจะต้องแลกมา ด้วยหยาดเหงื่อแรงกาย ความพยายาม การลองผิดลองถูกแล้ว ยังต้องแลกมาด้วยสุขภาพจิตที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนธรรมดาอีกด้วย
3 สาเหตุหลัก ว่าทำไม influencer จึงมีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพจิต? 1. กดดันจากความคาดหวังของตนเอง
หากเทียบกับอาชีพอื่นๆ กว่าเราจะรู้ว่าสิ่งที่เราทำลงไปวันนี้ส่งผลลัพธ์อย่างไร ต่อบริษัท ต่ออาชีพ หน้าที่การงาน ก็อาจจะใช้เวลาสักพัก แต่สำหรับ influencer เมื่อ upload ผลงานตัวเองสู่สาธารณะแล้ ภายในเวลา 5-10 นาทีก็สามารถทราบได้เลยว่าผลงานชิ้นนั้น พัง หรือ ปัง ด้วยความรวดเร็วของผลลัพธ์นี้ทำให้ influencer เป็น สามารถทราบได้ทันที ว่าวันนี้ประสบความสำเร็จตามเป้ามากน้อยแค่ไหน และโดยส่วนใหญ่ หาก content ได้รับความสนใจดีในช่วงแรกๆ influencer มักคาดหวังที่จะได้รับผลตอบรับที่ดีมากขึ้นใน content ต่อๆ มา มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นประกอบกับผลตอบรับแบบ real time ทำให้ influencer เป็นอาชีพที่กดดันตัวเองแทบจะตลอดเวลา
2. feedback ในแง่ลบจากนักเลงคีย์บอร์ด
ในอาชีพอื่นๆ เราก็อาจจะถูกว่ากล่าว ตำหนิได้ หากอีกฝ่ายไม่เห็นด้วย หรือมองว่าสิ่งที่เราทำมันผิด แต่คนเราก็มักจะมีความเกรงใจต่อกัน มีความไว้หน้ากัน หรือมีการยับยั้งชั่งใจก่อนจะพูดอะไร ในขณะที่บนโลกออนไลน์ ผู้คนต่างคิดว่าคนอื่นไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่ใช้ชื่อ นามสกุล หรือรูปภาพของตัวเองบนหน้า profile ทำให้คนเหล่านี้คิดว่าเขาจะทำอะไรก็ได้ และมักจะพูดโดยไม่คิดจริงจังออกไป (ส่วนใหญ่มักเป็นคำพูดในแง่ลบ) influencer จะต้องเผชิญกับสิ่งเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งถึงแม้จะพยายามไม่เก็บเอามาใส่ใจ แต่ด้วยความเป็นมนุษย์ ยังไงก็อดรู้สึกแย่กับข้อความเหล่านี้ไม่ได้แน่ๆ 3. การเปลี่ยนแปลงต่างๆจาก social media platform
Influencer ยังเป็นอาชีพที่มีความไม่แน่นอนสูงจากการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลาของ social media platform ทั้งหลาย เช่น อยู่มาวันนึงก็ไม่ให้ลงคลิปเด็กใน youtube แล้ว หรือ การถูกบังคับให้ลง content ทุกๆวัน ไม่เช่นนั้นโพสต์จะไม่มีคนเห็นเป็นต้น ทำให้สุดท้ายจากงานที่ทำแล้วมีความสุ อาจกลายเป็นงานที่กดดันมากๆก็เป็นได้
ที่มา: https://bit.ly/2w9sIc1
Written by Tanan Udomcharn
Comments