ข้อดี/ข้อเสีย ของการเป็น 'เจ้าแรก' (Part 1)Tanan UdomcharnJan 5, 20201 min readUpdated: May 2, 2021ในหลายครั้งเรามักถูกสอน และเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่า "ถ้าจะทำธุรกิจอะไร จะขายอะไร เราต้องคิดสิ่งใหม่ๆ สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ" หรืออีกนัยนึง ก็คือ "เราต้องเป็นเจ้าแรกที่คิดค้น ริเริ่มสิ่งใหม่ๆออกมาให้ได้"แต่ในความเป็นจริงนั้น การเป็น "เจ้าแรก" นั้นทำได้ยาก และอาจไม่ได้มีเพียงข้อดีเสมอไป...ในวันนี้ Marketing Everyday จะมาอธิบายถึงทั้งข้อดีและข้อเสีย ของการเป็น "เจ้าแรก" ในยุทธภพให้ได้เข้าใจกันครับ ข้อดีของการเป็นเจ้าแรก1. Brand Loyalty:การเป็นเจ้าแรกมีผลต่อความจงรักภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้าอยู่พอสมควร เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่มีแนวโน้มที่จะยึดติดอยู่กับแบรนด์ๆแรกที่ใช้ อย่างไรก็ดีข้อดีข้อนี้อาจมองได้ว่าไม่ได้มีผลยาวตลอดไป แต่อาจเป็นเพียงข้อดีเพียงชั่วคราวมากกว่า2. Reputation:การเป็นเจ้าแรกช่วยสร้างชื่อเสียง และสร้างภาพลักษณ์/ภาพจำที่ดี ให้กับแบรนด์ในฐานะการเป็น "ผู้ริเริ่ม" หรือ "ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม"ข้อดีข้อนี้จึงมักจะสำคัญสำหรับบริษัท หรือ แบรนด์ต่างๆที่อยู่ในวงการเทคโนโลยี3. Preemption of Scarce Assets:ในบางครั้งทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจอาจมีจำกัด การเป็นเจ้าแรกอาจทำให้ได้มาซึ่งข้อได้เปรียบในข้อนี้ เนื่องจากสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ง่ายกว่า และ ยังเป็นการป้องกันการเข้ามาแข่งขันจากคู่แข่งรายใหม่อีกด้วย4. Create Switching Cost:ข้อดีในข้อนี้อาจฟังดูคล้ายกับ ข้อ 1. เรื่องความจงรักภักดีของลูกค้า แต่สิ่งที่ต่างกันคือ การเป็นเจ้าแรกยังสามารถสร้าง "ต้นทุน" ในการเปลี่ยนไปใช้สินค้า/บริการจากคู่แข่งให้กับลูกค้าได้อีกด้วย เช่น การเปลี่ยนไปใช้สินค้า/บริการจากคู่แข่งรายใหม่อาจทำให้บริษัทลูกค้า ต้องเสียค่า installment ใหม่ เสียค่า training ใหม่ หรือเสียเงินที่ลงทุนกับเจ้าแรกไปฟรีๆ เป็นต้น ทำให้ลูกค้าไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้สินค้า/บริการจากคู่แข่งรายใหม่ได้5. Protected by Patentสุดท้าย ข้อดีของการเป็นรายแรกคือการที่แบรนด์สามารถปกป้องทรัพยากร อันมีค่าของแบรนด์ได้จากการจดสิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์ นี่ยังอาจรวมไปถึงการได้สัมปทานจากภาครัฐ ซึ่งส่งผลให้แบรนด์มีโอกาสผูกขาดเป็นเสือนอนกินได้สบายๆอีกด้วย สำหรับข้อเสียของการเป็น "เจ้าแรก" นั้นก็มีไม่น้อยเช่นกั เราจะมาเล่าให้ฟังกันต่อ Part 2 ในวันพรุ่งนี้ และเพื่อไม่ให้พลาด content ดีๆ แบบนี้อย่าลืมกดติดตามเพจของเราได้ที่ Marketing Everyday นะครับ Written by: Tanan Udomcharn
ในหลายครั้งเรามักถูกสอน และเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่า "ถ้าจะทำธุรกิจอะไร จะขายอะไร เราต้องคิดสิ่งใหม่ๆ สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ" หรืออีกนัยนึง ก็คือ "เราต้องเป็นเจ้าแรกที่คิดค้น ริเริ่มสิ่งใหม่ๆออกมาให้ได้"แต่ในความเป็นจริงนั้น การเป็น "เจ้าแรก" นั้นทำได้ยาก และอาจไม่ได้มีเพียงข้อดีเสมอไป...ในวันนี้ Marketing Everyday จะมาอธิบายถึงทั้งข้อดีและข้อเสีย ของการเป็น "เจ้าแรก" ในยุทธภพให้ได้เข้าใจกันครับ ข้อดีของการเป็นเจ้าแรก1. Brand Loyalty:การเป็นเจ้าแรกมีผลต่อความจงรักภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้าอยู่พอสมควร เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่มีแนวโน้มที่จะยึดติดอยู่กับแบรนด์ๆแรกที่ใช้ อย่างไรก็ดีข้อดีข้อนี้อาจมองได้ว่าไม่ได้มีผลยาวตลอดไป แต่อาจเป็นเพียงข้อดีเพียงชั่วคราวมากกว่า2. Reputation:การเป็นเจ้าแรกช่วยสร้างชื่อเสียง และสร้างภาพลักษณ์/ภาพจำที่ดี ให้กับแบรนด์ในฐานะการเป็น "ผู้ริเริ่ม" หรือ "ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม"ข้อดีข้อนี้จึงมักจะสำคัญสำหรับบริษัท หรือ แบรนด์ต่างๆที่อยู่ในวงการเทคโนโลยี3. Preemption of Scarce Assets:ในบางครั้งทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจอาจมีจำกัด การเป็นเจ้าแรกอาจทำให้ได้มาซึ่งข้อได้เปรียบในข้อนี้ เนื่องจากสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ง่ายกว่า และ ยังเป็นการป้องกันการเข้ามาแข่งขันจากคู่แข่งรายใหม่อีกด้วย4. Create Switching Cost:ข้อดีในข้อนี้อาจฟังดูคล้ายกับ ข้อ 1. เรื่องความจงรักภักดีของลูกค้า แต่สิ่งที่ต่างกันคือ การเป็นเจ้าแรกยังสามารถสร้าง "ต้นทุน" ในการเปลี่ยนไปใช้สินค้า/บริการจากคู่แข่งให้กับลูกค้าได้อีกด้วย เช่น การเปลี่ยนไปใช้สินค้า/บริการจากคู่แข่งรายใหม่อาจทำให้บริษัทลูกค้า ต้องเสียค่า installment ใหม่ เสียค่า training ใหม่ หรือเสียเงินที่ลงทุนกับเจ้าแรกไปฟรีๆ เป็นต้น ทำให้ลูกค้าไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้สินค้า/บริการจากคู่แข่งรายใหม่ได้5. Protected by Patentสุดท้าย ข้อดีของการเป็นรายแรกคือการที่แบรนด์สามารถปกป้องทรัพยากร อันมีค่าของแบรนด์ได้จากการจดสิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์ นี่ยังอาจรวมไปถึงการได้สัมปทานจากภาครัฐ ซึ่งส่งผลให้แบรนด์มีโอกาสผูกขาดเป็นเสือนอนกินได้สบายๆอีกด้วย สำหรับข้อเสียของการเป็น "เจ้าแรก" นั้นก็มีไม่น้อยเช่นกั เราจะมาเล่าให้ฟังกันต่อ Part 2 ในวันพรุ่งนี้ และเพื่อไม่ให้พลาด content ดีๆ แบบนี้อย่าลืมกดติดตามเพจของเราได้ที่ Marketing Everyday นะครับ Written by: Tanan Udomcharn
Comments