Cognitive dissonance หมายถึง ความไม่ลงรอยกันของความคิด
หรือแปลง่ายๆเป็นภาษาบ้านๆว่าทะเลาะกับความคิดตัวเอง
ไม่รู้ว่าจะคิดแบบ A หรือแบบ B ดีกว่า
ซึ่งในทางการตลาดมักใช้พูดถึงความรู้สึกของผู้ซื้อ
หลังจากได้ซื้อสินค้าไปแล้วโดยผู้ซื้อมักกลับมาคิดว่าสิ่งที่ได้ซื้อมานั้น
มันคุ้มหรือไม่ ดีจริงหรือไม่ หากตัดสินใจว่าคุ้ม ดีจริง
ก็จะเกิดเป็นความพอใจ อันจะนำไปสู่การซื้อซ้ำ หรือการแนะนำให้ผู้อื่นต่อๆไป
แต่หากตัดสินใจว่าดีไม่จริง ไม่่คุ้ม ก็จะทำให้เกิดเป็นความไม่พึงพอใจได้
brand จะลด cognitive dissonance ได้อย่างไรบ้าง?
- บริการหลังการขาย: ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า ย้ำเตือนคุณสมบัติด้านบวก
ประโยชน์ของสินค้า/บริการที่ลูกค้าได้ซื้อไป
- ใช้ลูกค้าในการชักจูงลูกค้า: การจัดแคมเปญให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปช่วยรีวิวสันค้า
มักจะได้รับรีวิวในแง่บวก เนื่องจากลูกค้ามักคิดว่าต้องรีวิวในแง่ดี จึงจะได้รางวัล
การรีวิวนี้ทำให้ลูกค้าท่านอื่นที่กำลังสับสนรู้สึกว่าสิ่งที่ได้ซื้อมานั้นคุ้มค่าแล้ว
จากคำรีวิวของคนอื่นๆที่ซื้อสินค้ามาเหมือนตนเอง
- ลดความสำคัญของข้อเสีย: หากสินค้ามีข้อเสีย แบรนด์อาจเน้นการโฆษณาที่เน้นข้อดี
หรือหาวิธีปรับการสื่อสารให้ลูกค้ารู้สึกว่าข้อเสียของสินค้านั้นไม่สำคัญ
เพื่อให้ตัดสินใจที่จะ "พอใจ" กับสินค้าได้ดีขึ้น
Comentários