top of page

'สวย' หรือ 'น่ารัก' ดีกว่ากัน?

Writer: Tanan UdomcharnTanan Udomcharn

Updated: May 3, 2021


การดีไซน์แบรนด์ ดีไซน์สินค้า หรือกระทั่งดีไซน์ packaging เปรียบเสมือนหน้าตาของแบรนด์ ซึ่งสามารถช่วยแบรนด์ในการสื่อสาร ไปยังผู้บริโภคได้ว่าแบรนด์ต้องการถูกมองอย่างไร

เช่น แบรนด์ที่ใช้โลโก้สีทองบน background สีขาว อาจจะอยากสื่อความสวยงาม ที่ดูหรูหรา มีความ luxury เป็นต้น

ในโลกของการดีไซน์องค์ประกอบต่างๆของแบรนด์ จึงมีคำอยู่ 2 คำ ที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาก แต่กลับมีข้อดี/ข้อเสียที่ต่างกันลิบลับ นั่นก็คือคำว่า "สวย" กับ "น่ารัก"

 

สินค้า/packaging/แบรนด์ ที่ดู "สวยงาม"

- มักจะกระตุ้นความต้องการต้องการใช้เพื่อ "บ่งบอกตัวตนของตนเอง"

- เช่น ใช้สินค้าที่ดูหรู ดูสวยงาม เพื่อบ่งบอกฐานะ บ่งบอกรสนิยม หรือบ่งบอกความชื่นชอบของตน

- ข้อดีของ "ความสวยงาม" คือ สื่อถึงความซับซ้อน ความเป็นผู้ใหญ่ และความสง่า

- แต่ข้อเสีย คืออาจจะทำให้ผู้บริโภคปฏิเสธสินค้า เนื่องจากมองว่าดูเย่อหยิ่ง หรือดูไม่เป็นตัวของตัวเองเกินไป(วางตัวสูงเกินไป)

- ตัวอย่างแบรนด์ที่เน้นความสวยงาม เช่น CHANEL, LV, GUCCI และ luxury brands ส่วนใหญ่

 

สินค้า/packaging/แบรนด์ ที่ดู "น่ารัก"

- มักจะกระตุ้นความต้องการ "ครอบครอง เป็นเจ้าของ" หรือ ต้องการ "ดูแลรักษา"

- เช่นเดียวกันกับความรู้สึกเวลาที่เราเห็นลูกสัตว์ต่างๆ

- ข้อดีของ "ความน่ารัก" คือ สื่อถึงความเยาว์วัย ความใสซื่อบริสุทธิ์

- แต่ข้อเสีย คืออาจจะทำให้ผู้บริโภคปฏิเสธสินค้า เนื่องจากแบรนด์ดูไม่จริงจัง ไม่มีความเป็นผู้ใหญ่พอ

- ตัวอย่างแบรนด์ที่เน้นความน่ารัก เช่น Hello Kitty, Marimekko

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณสามารถดีไซน์สินค้า/packaging/แบรนด์ ให้สามารถมีทั้งความ "น่ารัก" และความ "สวยงาม" ได้พร้อมกัน แบรนด์ของคุณก็สามารถรวมเอาข้อดีของทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกัน เพื่อกำจัดข้อเสียออกไปได้ ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า "Cutely Beautiful" (ความสวยแบบน่ารักๆ)

ตัวอย่าง แบรนด์ที่ดูสวยแบบน่ารักๆ เช่น Cath Kidston, Vespa เป็นต้น

 

Written by Tanan Udomcharn

Comments


©2022 by Marketing Everywhere

bottom of page