top of page

'Long Tail' ความสำเร็จของ amazon.com


- หลายคนคงเคยได้ยินหรือรู้จักกับชื่อของ amazon.com (ไม่ใช่ร้านกาแฟในไทยนะ) ซึ่งเป็น e-commerce สัญชาติอเมริกันที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกในขณะนี้


- แต่มีกี่คนที่ทราบบ้างครับว่า amazon ไม่ได้เริ่มต้นก่อตั้งบริษัทมา เพื่อเป็น e-commerce แต่ก่อตั้งมาเป็นแค่ "ร้านหนังสือออนไลน์" เฉยๆในตอนแรก


- จุดเริ่มต้นความสำเร็จแรกของ amazon มีที่มาจากการใช้กลยุทธ์ ที่เรียกว่า "Long Tail" ที่แปลว่า "หางยาว" นั่นแล่ะครับ

 

***แล้ว Long Tail คืออะไรล่ะ?


- Long Tail คือกลยุทธ์ที่ช่วยให้บริษัทสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล

จากการ "ขายสินค้าหายาก" หลายๆอย่าง อย่างละไม่กี่ชิ้น

ให้กับลูกค้าหลายๆราย แทนที่จะขายสินค้าที่เป็นที่นิยมเพียงไม่กี่อย่าง


- ยอดขายของสินค้าหายากหลายๆอย่าง ให้กับลูกค้าหลายๆราย

เหล่านี้นี่แล่ะที่เรียกว่า "Long Tail"


- ในกรณีของ amazon ซึ่งเริ่มต้นจากเป็นร้านหนังสือออนไลน์ ก็ใช้กลยุทธ์นี้

โดยการวางขายทั้งหนังสือขายดี และหนังสือหายากจำนวนมากมาย

เรียกได้ว่าใครหาหนังสือเล่มไหนไม่เจอก็มาหาเจอได้ที่ amazon.com นี่แล่ะ

 

ซึ่ง สาเหตุที่ amazon สามารถใช้กลยุทธ์ Long Tail แล้วได้ผลอย่างดี ก็เพราะ


1. ต้นทุนค่าเสียโอกาสของร้านหนังสือออนไลน์ ถูกกว่าร้านหนังสือออฟไลน์

amazon จึงสามารถขายหนังสือได้หลากหลายมากมาย ทั้งหนังสือยอดฮิตติดกระแส

ไปจนถึงหนังสือหายากที่คนไม่ค่อยซื้อกัน เพราะ shelf ของ amazon ก็คือหน้าเว็บไซต์นั่นเอง

ในขณะที่ร้านหนังสือออฟไลน์ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะพื้นที่ shelf มีจำกัด

จึงถูกบีบบังคับให้ต้องวางขายเฉพาะหนังสือที่ขายดีเท่านั้น

หากเอาหนังสือหายากมาขาย ก็มีโอกาสสูงที่จะขายไม่ได้


2. หนังสือหายากขายได้กำไรมากกว่าหนังสือที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไป

ซึ่งหลักการข้อนี้ก็เป็นไปตามหลัก demand supply ปกติ การที่หนังสือสักเล่ม

เช่น Harry Potter ขายดีขึ้นมา แปลว่าทุกร้านก็จะเอามาวางขาย supply มีมากกว่า

หรือเท่ากับ demand ราคาที่ขายได้ก็จะไม่ได้มากมายอะไร เน้นปริมาณขายเป็นหลัก

ส่วนหนังสือหายากนั้น demand จะสูงมาก ในขณะที่ supply มีน้อยด้วยเหตุผล

ตามข้อ 1. ทำให้ผู้ซื้อยินดีจะจ่ายค่าสินค้าราคาแพงกว่า

สำหรับผู้ขายจึงสามารถทำกำไรได้มากกว่า


3. amazon มีหางที่ยาวกว่าชาวบ้าน และยิ่งเวลาผ่านไป หางก็ยิ่งยาวขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งหมายถึงการที่ amazon มี choice ให้เลือกอย่างหลากหลายและเพิ่ม choice

ให้กับลูกค้าตลอดเรื่อยๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกเพศ ทุกวัย ทุกสายอาชีพ

การขายหนังสือของ amazon จึงไม่ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

แต่มันคือการขายที่แทบจะไม่มี target customer เลยนั่นเอง

 

Written by Tanan Udomcharn

Comments


bottom of page