top of page

ยืดเวลาห้ามขายเหล้า ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้บริโภคอย่างไร?


จากข่าวในวันนี้ที่ทาง ศบค. ได้ออกมาแถลงการณ์ถึงมาตรการต่างๆ ในการรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 หนึ่งในมาตรการ ที่เป็นที่พูดถึงกันคือ "การขยายเวลาห้ามขายเหล้า" ต่อไปจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 63


มาตรการนี้อาจมีข้อดีโดยตรงในแง่ของการลดการชุมนุมกัน ตามวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดการระบาดของเชื้อไวรัส


นอกจากนั้นยังมีข้อดีทางอ้อมที่อาจรวมไปถึงการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ จากการเมาแล้วขับ และลดอัตราผู้ติดสุราได้อีกด้วย (ข้อมูลจากสายด่วนเลิกเหล้ากล่าวว่ามีผู้โทรติดต่อเข้ามา เพิ่มมากขึ้นในช่วงมาตรการห้ามจำหน่ายสุรา)


อย่างไรก็ตาม การยืดเวลาห้ามจำหน่ายสุรา ก็อาจมีข้อเสียได้เช่นกัน

หากจำได้ทางเพจได้พูดถึงเรื่องของ scarcity อยู่บ่อยครั้งว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ที่ยอมปล่อยให้ของขาดตลาดเพื่อกระตุ้นให้เกิด demand


ถึงแม้ว่าในตลาดตอนนี้จะไม่ได้ขาดแคลนเหล้า แต่จากการจำกัดการขาย ก็ทำให้เกิด scarcity ของสินค้าขึ้นในใจของผู้บริโภค

ตัวแอดเองแม้ปกติจะเป็นคนไม่ดื่ม แต่พอทราบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาซื้อได้แล้ว ก็แอบมีความรู้สึกอยากดื่มแอลกอฮอล์ขึ้นมาเหมือนกัน

ซึ่งหลักจิตวิทยาข้อนี้ ก็อาจจะคล้ายๆกับคำพูด ที่ว่า "ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ" นั่นแล่ะครับ


เราก็ได้แต่หวังว่าหลังจากช่วงขยายเวลาห้ามจำหน่ายเหล้าไปแล้ว ผู้คนจะไม่แห่กันไปซื้อเหล้าดื่มกันมากกว่าปกติ จนนำมาซึ่งปัญหาต่างๆมากมายครับ

 

Written by Tanan Udomcharn

コメント


bottom of page