วันนี้แอดจะมานำเสนอการตลาดรูปแบบหนึ่งในเมืองไทยที่มักใช้
เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าต่างๆ โดยไม่ต้องพึ่งพลังของ brand name กัน
อย่างที่ทุกคนคงทราบกันดีว่า brand name มีพลังในการเพิ่มมูลค่า
ให้สินค้าได้อย่างมากมาย เช่น เสื้อยืดสีขาวธรรมดาๆ
เพียงแค่ว่างโลโก้ brand name ชื่อดัง อันเล็กๆลงไป ก็สามารถตั้งราคาขายได้
สูงลิบลิ่วมากกว่าเสื้อยืดที่เหมือนกันทุกประการอีกตัวที่ไม่มีแบรนด์เนม
แต่นอกจากแบรนด์เนมแล้ว ในประเทศของเรายังมีอีกสิ่งหนึ่ง
ที่สร้างมูลค่าให้กับสินค้าหรือวัตถุธรรมดาให้มีค่ามากขึ้น
หลายพัน หลายหมื่นบาทได้ นั่นก็คือ "ความเชื่อ"
จากภาพตัวอย่างนี้จะเห็นว่ากระเป๋าตังค์โนเนมธรรมดาๆ สามารถนำมาขายในราคาสูงกว่าตลาดได้โดยการสร้าง story สีมงคล เพียงแค่ลูกค้าบอกวันเดือนปีเกิด ร้านค้าจะคำนวณให้ ว่ากระเป๋าตังค์สีไหนที่ช่วยเรียกทรัพย์ให้ลูกค้า
ทำไม faith marketing หรือการตลาด
ที่ขาย "ความเชื่อ" แบบนี้ถึง work มากในไทย
1. คนไทยมีความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ให้ไสยศาสตร์เป็นใหญ่ ด้วยข้อคิด
เช่น ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ หรือเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปก่อน ทำไปดีกว่าไม่ทำ
แล้วจะมีเรื่องร้ายๆเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ปลูกฝังกันมาแต่โบราณและหยั่งรากฝังลึกในวิถีของเรา
2. คนเราต้องการหาทางในการลดความเสี่ยง เช่นเดียวกับแบรนด์เนม
ที่ช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องคุณภาพที่ไม่ดี หรือในเรื่องภาพลักษณ์
สำหรับลูกค้าบางกลุ่ม สินค้าเสริมดวงก็ช่วยลดความเสี่ยง
ในการใช้ชีวิตเช่นกัน (ลดความเสี่ยงทางจิตใจ)
3. มีการ customization นอกจากจะเสริมดวงแล้ว ยังมีการคำนวณสีมงคล สำหรับแต่ละบุคคลตามวันเกิด ทำให้ลูกค้ารู้สึก special รู้สึกว่าสินค้านั้นๆได้ถูก customised ให้กับตนเองในระดับนึงแล้ว รู้สึกถึงความแตกต่าง ความพิเศษของตนเองมากกว่าผู้อื่น
จึงไม่แปลกที่สินค้าพวกนี้สามารถขายได้ และได้ราคาดีกว่าสินค้า ที่เหมือนกันทุกประการ นอกจากสินค้าแฟชั่นที่มีสีมงคลแล้ว วัตถุทางไสยศาสตร์ต่างๆนานาก็ใช้หลักการเดียวกัน โดยอาจแตกต่างในข้อ 3. จากการ customization เป็นเรื่องของ story telling ต่างๆ เช่น วัตถุชิ้นนั้นผ่านการปลุกเสก อะไรมาบ้างกว่าจะมาเป็นของศักดิ์สิทธิ์ได้ ทำให้คนรู้สึกอิน และให้มูลค่ากับวัตถุนั้นๆ
Written by Tanan Udomcharn
Comments