บ่งบอกตัวตนผ่านแบรนด์ไม่ได้ แล้วต้องทำไงต่อ?คณวัฒน์ อัศวฉัตรโรจน์Nov 30, 20191 min readUpdated: May 1, 2021เวลาพาลูกค้าไปยุโรป ลูกค้าส่วนใหญ่จะให้พาเข้าร้านแบรนด์เนม ไม่ว่าจะเป็น Louis Vuitton หรือ Rimowa พอเข้าไปก็จะเจอคนจีน และ คนไทย ชาวไทยและชาวจีนถือว่าเป็นสองชาติที่เป็นสาวกแบรนด์เนมตัวยง สาเหตุน่าจะเป็นเพราะว่าสังคมไทย และ สังคมจีนเป็นสังคมที่ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และต้องการการยอมรับจากสังคม พวกเขาเหล่านั้นจึงใช้สินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อที่จะแสดงออกถึงตัวตนและความสำเร็จ โดยที่ลึกๆอาจจะใช้เพราะเป็นการปิดบัง, ดึงดูด หรือ เพื่อที่จะเข้าร่วมกลุ่ม ทฤษฎี 3E’s ได้กล่าวถึงว่า การที่จะสร้างให้สินค้าหรือแบรนด์ เป็นที่รักของผู้บริโภคจะต้องสร้างผ่านทางสามอย่าง คือ 1. ทำให้สินค้านั้นใช้งานได้ (Enabling) 2. ทำให้สินค้านั้นสวยงาม (Enticing) 3. ทำให้สินค้านั้นบ่งบอกตัวตน (Enriching) ซึ่งการทำให้สินค้าบ่งบอกตัวตนนั้นเป็นสิ่งหลักที่แบรนด์ราคาแพงต้องทำ เพราะมีน้อยคนที่จะซื้อสินค้าแบรนด์ราคาแพงเพียงแค่สินค้านั้นใช้งานได้ และ/หรือ สินค้านั้นสวยงาม เพียงสองอย่าง (ถ้าเอาโลโก้แบรนด์ออกความต้องการของผู้บริโภคที่อยากจ่ายจะลดลงอย่างมาก) อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ยิ่งมีคนใช้แบรนด์เดียวกันเพื่อจะบ่งบอกตัวตน มากเกินกว่าจำนวนที่ควรจะเป็นในVolumeที่มากเกิน การที่คนใช้แบรนด์เพื่อบ่งบอกตัวตนก็จะมีความขลังน้อยลงเท่านั้น (เรื่องEnvy Zone) เมื่อการครอบครองแบรนด์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถบ่งบอกถึงฐานะ และตัวตนของตัวบุคคลคนได้ ในปัจจุบันคนจึงนิยมที่จะส่งสารความเป็นตัวเอง ผ่านทาง Culture และ Experience มากขึ้น เช่น ฉันทานอาหารร้านหรู, ฉันไปเที่ยวต่างประเทศ หรือ แม้แต่ฉันได้มีโอกาสทำสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ทำ ซึ่งเครื่องมือในการกระจายสารก็คือ ‘Social Media’ หรือแม้แต่เพิ่มการ Personalization ในตัวแบรนด์ เช่น การติดสติกเกอร์ลงกระเป๋า Rimowa หรือ การสกรีนลงกระเป๋า
เวลาพาลูกค้าไปยุโรป ลูกค้าส่วนใหญ่จะให้พาเข้าร้านแบรนด์เนม ไม่ว่าจะเป็น Louis Vuitton หรือ Rimowa พอเข้าไปก็จะเจอคนจีน และ คนไทย ชาวไทยและชาวจีนถือว่าเป็นสองชาติที่เป็นสาวกแบรนด์เนมตัวยง สาเหตุน่าจะเป็นเพราะว่าสังคมไทย และ สังคมจีนเป็นสังคมที่ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และต้องการการยอมรับจากสังคม พวกเขาเหล่านั้นจึงใช้สินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อที่จะแสดงออกถึงตัวตนและความสำเร็จ โดยที่ลึกๆอาจจะใช้เพราะเป็นการปิดบัง, ดึงดูด หรือ เพื่อที่จะเข้าร่วมกลุ่ม ทฤษฎี 3E’s ได้กล่าวถึงว่า การที่จะสร้างให้สินค้าหรือแบรนด์ เป็นที่รักของผู้บริโภคจะต้องสร้างผ่านทางสามอย่าง คือ 1. ทำให้สินค้านั้นใช้งานได้ (Enabling) 2. ทำให้สินค้านั้นสวยงาม (Enticing) 3. ทำให้สินค้านั้นบ่งบอกตัวตน (Enriching) ซึ่งการทำให้สินค้าบ่งบอกตัวตนนั้นเป็นสิ่งหลักที่แบรนด์ราคาแพงต้องทำ เพราะมีน้อยคนที่จะซื้อสินค้าแบรนด์ราคาแพงเพียงแค่สินค้านั้นใช้งานได้ และ/หรือ สินค้านั้นสวยงาม เพียงสองอย่าง (ถ้าเอาโลโก้แบรนด์ออกความต้องการของผู้บริโภคที่อยากจ่ายจะลดลงอย่างมาก) อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ยิ่งมีคนใช้แบรนด์เดียวกันเพื่อจะบ่งบอกตัวตน มากเกินกว่าจำนวนที่ควรจะเป็นในVolumeที่มากเกิน การที่คนใช้แบรนด์เพื่อบ่งบอกตัวตนก็จะมีความขลังน้อยลงเท่านั้น (เรื่องEnvy Zone) เมื่อการครอบครองแบรนด์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถบ่งบอกถึงฐานะ และตัวตนของตัวบุคคลคนได้ ในปัจจุบันคนจึงนิยมที่จะส่งสารความเป็นตัวเอง ผ่านทาง Culture และ Experience มากขึ้น เช่น ฉันทานอาหารร้านหรู, ฉันไปเที่ยวต่างประเทศ หรือ แม้แต่ฉันได้มีโอกาสทำสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ทำ ซึ่งเครื่องมือในการกระจายสารก็คือ ‘Social Media’ หรือแม้แต่เพิ่มการ Personalization ในตัวแบรนด์ เช่น การติดสติกเกอร์ลงกระเป๋า Rimowa หรือ การสกรีนลงกระเป๋า
Comments