สำหรับนักศีกษาไทยในลอนดอน นอกจากสถานศึกษาและที่พักอาศัยแล้ว ไชน่าทาวน์เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สามของพวกเขาเลยก็ว่าได้ เพราะว่าเป็นแหล่งรวมร้านอาหารจีน และ ของกินนานาชาติ ที่มีรสชาติความคล้ายคลึงกับอาหารไทย นอกจากนี้แล้วยังมีซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ขายของนำเข้ามาจากประเทศไทยอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร, ซอสปรุงรส, อาหารแห้ง, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยวยี่ห้อต่างๆ
ในไชน่าทาวน์ มีร้านชานมไข่มุกร้านหนึ่งซึ่งผมแวะเวียนเข้าไปซื้อบ่อยๆ สำหรับรสชาติอาจจะไม่ได้อร่อยขั้นเทพ แต่มันก็สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผมได้ในระดับนึง ร้านนั้นมีชื่อว่า “Chatime” ร้านชานมไข่มุกร้านนี้จะมีลูกค้าเข้ามาหมุนเวียนตลอดไม่ขาดสาย ทุกครั้งผมจะต้องต่อคิว เพื่อจะได้ทานชานมไข่มุกร้านนี้ โดยเฉพาะในช่วง (Prime time) จะเห็นลูกค้าต่อแถวยาวเหยียด ล้นออกมานอกร้านเลยทีเดียว
ร้านChatime ใน UK นั้นมีหลายสาขา แต่ปรากฏว่าสาขาอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาที่ไชน่าทาวน์แล้ว ลูกค้ามีจำนวนน้อยมาก หรือแทบไม่มีลูกค้าเลย ดังนั้น ผมจึงเกิดข้อสงสัยขึ้นในใจว่า ทำไมร้านชานม ที่ China Town นั้นจึงขายดี ผมคิดว่าอาจเป็นเพราะว่า หลังจากการรับประทานอาหารจีน ซึ่งส่วนมากจะมีส่วนประกอบของน้ำมันและเติมผงปรุงแต่งที่เยอะ อาจเป็นตัวกระตุ้นความกระหายน้ำ และ ความอยากบริโภคของหวานตามมา หรือเป็นเพราะว่า บรรยากาศในChina Town เป็นตัวกระตุ้นทำให้คนอยากรับประทานชานม
เป็นที่สังเกตุแน่ชัดว่ากลยุทธ์การตั้งสถานที่ในเชิงทางการตลาดนั้นมีความสำคัญมาก และเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ธุรกิจที่สำเร็จในสถานที่หนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าจะสำเร็จในอีกสถานที่หนึ่ง เนื่องจากจากการตลาดเริ่มจากความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม อาจทำให้การตัดสินใจของผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามสถานที่ เช่น ที่Edinburgh อากาศหนาวกว่าลอนดอนอาจจะทำให้คนไม่นิยมทานชานม หรือ Portobello ซึ่งเป็นตลาดขายของแนว Vintage สไตล์อังกฤษ อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวอยากลิ้มลองเครื่องดื่มตามร้านค้าทั่วไปที่เข้ากับบรรยากาศมากกว่าเป็นต้น
ทฤษฎี: กลยุทธ์การตั้งสถานที่
Comments